การ debate และกรอบการให้ค่า

วันนี้ผมได้อ่าน comment จาก Twitter Debate ของ mk แล้วก็พบว่าได้แนวคิดและเหตุการณ์จริงเกี่ยวกับการ debate มากมายครับ
เรียกได้ว่า comment กันมีคุณภาพมากๆ ผมก็เองอดไม่ได้ที่จะ comment ไปด้วยหลังอ่านของอาจารย์มะนาว
เรียกว่าได้ความรู้เกี่ยวกับ การใช้เหตุผล และการ debate มากมายครับ แนะนำให้ไปอ่านกัน

นอกจากนี้ ความเห็นสั้นๆ ต่อสถานการณ์การเมืองไทย & เหตุผลที่สมัครควรยุบสภา ของคนชายขอบ
ก็เป็นอีกที่หนึ่งในตอนนี้ที่ผมแนะนำให้ไปอ่านกันมากๆ ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณ fringer มากๆ

อ่าน comment อาจารย์ @jittat แล้วเห็นอะไรชัดขึ้นมากครับ แต่เห็นต่างนิดหน่อยครับ
คือผมอ่านแล้วเข้าใจว่า เราควรจะตั้งกรอบก่อน ค่อย dabate กัน
แต่ผมคิดว่าเราเริ่มด้วยการตั้งกรอบไม่ได้ (– จะเอากรอบอะไรมา ก็ต้องใช้อีกกรอบลึกลงไปมาตัดสินอีก)

วิธีเดียวที่จะตั้งได้ก็คือ คุยกันก่อนเพื่อเอากรอบเดิมของแต่ละคนมาดูกัน แล้วเรียนรู้-ตีค่ากันไป
คุยๆ กันไปเพื่อให้อยู่ๆ อีกคนย้ายมากรอบเรา หรือปิ๊งไอเดียเกิดกรอบใหม่ที่ใช้ร่วมกัน
ตราบใดที่ยังไม่อยู่กรอบเดียวกัน ก็ไม่ได้ข้อสรุป ก็ต้องเรียนรู้กรอบของแต่ละคนกันไป
(ถ้าขี้เกียจจะรอให้มาอยู่กรอบเดียวกัน ก็โหวต)

ทุกคนที่นี้ไม่ได้อยู่ในกรอบเดียวกัน ก็ได้มาแลกเปลี่ยนตีค่ากรอบของแต่ละคน
ซึ่งก็ขอบคุณมากครับ ผมเรียนรู้อะไรเยอะโคตรเลย

ปล. ผมนับถือความ harsh ของ @mk กล้าดีครับ ขอคารวะ แต่ก็นับถือ @เนย @mikey และคนอื่นๆด้วยที่ประทานความรู้ความเข้าใจมาให้

เหตุผลของความรัก

ชื่อเอนทรีดูโรแมนติกมากๆ แต่จริงๆ เนิร์ดจัดๆ ครับ ฮา
โดยที่จริงแล้วผม copy มาจาก comment รักด้วยสมอง ของพี่ก้อนนะครับ
ผมพยายามจะตอบเหตุผลของตัวเองและเห็นแย้งกับพี่ก้อนเกี่ยวกับ
ว่าทำไมคนเราถึงรักกันไปพร้อมๆ กัน

คนเรามันเปลี่ยนคุณสมบัติไปตามเวลา สถานที่ และคนที่มีความสัมพันธ์ด้วย
และ คนที่มีความสัมพันธ์ด้วย ก็ยังไม่สามารถรู้ถึง คุณสมบัติที่คนๆ นั้นแสดงออกมาได้ครบ นั้นคือข้อมูลของคุณสมบัติเองก็ไม่ครบถ้วนด้วยซ้ำ

เหตุผลที่ใครจะรักใครซักคนได้ ก็ต้องเป็นเพราะ
การทราบข้อมูลของคุณสมบัติที่ไม่ครบถ้วนจำนวนหนึ่งของใครอีกคนแล้วยีนสั่งมาว่าให้เรารัก

แต่การจะอ้างเหตุผลที่ว่านั้นมันเป็นเรื่องยาก เพราะพอเราคิดจะหาสาเหตุของคุณสมบัติที่ทำให้ รัก
คุณสมบัตินั้นก็กลับเลือนหายไปตามเวลาแล้ว  หรือ อาจได้รับข้อมูลเพิ่มเติมที่ทำให้เหตุผลนั้นไม่สามารถเป็นจริงแล้ว

เรื่องก็คือว่า ยีนก็ยังบอกให้เรารักต่อไป

คำตอบที่ได้ก็เลยมักจะเป็น ไม่รู้เหตุผล
ซึ่งคนที่คิดว่าคนเราไม่ควรไม่รู้ ก็จะตอบว่า ไม่มีเหตุผล
ซึ่งคนที่คิดว่าคนเราไม่ควรไม่มีเหตุผล ก็ตอบว่า มันต้องมีแต่หาไม่เจอ 😛

มีอีกเรื่อง ผมว่าคนเราได้มีโอกาสรู้จักกับคนไม่กี่คน
มันเป็นเรื่องของโชคชะตามากๆ ที่ทำให้คนเราได้รู้จักกัน
จึงเป็นเรื่องธรรมดามาก ที่จะทำให้เหตุผลในการรักใครคนนั้น อาจจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เราได้รักใครอีกคน

เหตุผลที่ทำให้ผมรักใครซักคนได้นั้น
เมื่อได้ฟังเนื้อเพลง เพราะอะไร ของคุณประภาส
เขาถามว่า “…หรือเป็นเพียงรอยยิ้มรอยนั้นเมื่อวันแรกเจอ…”
ผมก็คงบอกว่า ใช่ ครับ…  : )

เพราะมันคลุมทุกๆ ประเด็นของผมเลย
เวลาจำเพาะ สถานที่จำเพาะ คู่ความสัมพันธ์จำเพาะ ข้อมูลไม่ครบถ้วน
และ โชคชะตา

ปล. ช่วงหลังมานี้ แทบไม่ได้เขียน blog เลย  ที่จริงมีเรื่องราวมากมาย มากมายจริงๆ โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมแห่งปัญญาที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เป็นไรครับ ไม่มีเวลาก็ไม่มีเวลา

ปล2. ยังไงก็ตาม อยากให้ทุกคนในโลกนี้ได้อ่าน สนทนากับพระเจ้า ของสำนักพิมพ์โอ้พระเจ้า นี่ไม่ใช่หนังสือเผยแพร่ศาสนา มันมีเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์มาก และผมจะบอกว่า มันเป็นหนังสือที่ฉลาดที่สุดเล่มหนึ่งเท่าที่จะพบได้ในชีวิตจริงๆ

ตรวจสอบและวิจารณ์ได้

ความล้มเหลวครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย | สังคมไร้วุฒิภาวะ
ทำให้ผมได้เห็นประเด็นต่างๆ เรื่องการไม่ยืนในโรงหนังของนายโชติศักดิ์ ได้ทั่วถึงขึ้นเป็นอย่างมาก …มันเป็นการตอบโต้กันด้วยเหตุผลที่ดีจริงๆ ครับ

ถ้าให้ผมเลือกข้าง.. แม้ผมจะยืนมาตลอดเวลาฟังเพลงสรรเริญ และคงไม่ไม่ค่อยพอใจกับคนที่ไม่ยืน ผมก็ยังคิดว่าการแก้กฎหมายหมิ่นฯ (หรือกฎหมายแนวๆ นี้หน่ะครับ ผมไม่รู้กฎหมาย) เพื่อให้ตรวจสอบและวิจารณ์ได้เป็นการสมควรอยู่ดี

เหตุผลก็คือ

  1. มีหลายกรณีมาแล้ว ที่มีคนใช้กฎหมายนี้อ้างคนอื่นที่วิจารณ์ในทางที่สร้างสรรค์ ว่าหมิ่นฯ เพื่อผลประโยชน์ประโยชน์ของตัวเอง (การเห็นใครใช้้ท่านเป็น “เครื่องมือ” เพื่อความต้องการของตัวเองมันเป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ นะครับ)
  2. แม้ตัว “บุคคล” ของสถาบันจะดี แต่ยังมีคนอีกมากมายที่สังกัดสถานบันนี้ การไม่มีกลไกตรวจสอบก็เป็นเรื่องที่เสี่ยง

ถ้าสถาบันนี้ดีอยู่แล้ว การสามารถตรวจสอบและวิจารณ์ได้ ตามความคิดผมนั้น มันไม่น่าจะทำให้สามารถเกิดการล้มล้างได้นะ

แม้คุณ zzzzz จะบอกไว้ว่ามีผู้ไม่หวังดีอยู่มาก แต่ถ้ามันดีจริง มันก็น่าจะยังอยู่ได้นะ (หรือผมโลกแคบไปไม่รู้อะ)

ผมมักจะคิดว่า แล้วถ้าต่อไปเกิดตัวบุคคลไม่ดีขึ้นมา แล้วเรายังมีกฎหมายปกป้องเกินไปอยู่แบบนี้ การจะสร้างกฎหมายตรวจสอบขึ้นมาตอนนั้นจะยังได้อนุมติหรือ เมื่อทำอะไรไม่ได้เลย แรงกดดันนี้น่าจะทำให้เกิดการล้มล้างขึ้นได้มากกว่าอีกอะครับ

การทำให้ตรวจสอบและวิจารณ์ได้ น่าจะทำให้ส่งผลดีต่อสถาบันในระยะยาวมากที่สุด
คิดว่าไงกันหรอครับ

ปล. ช่วงนี้ผมกำลังเริ่มติดตาม เศรษฐศาสตร์ตลาดสด กับ practical utopia ได้ประโยชน์ดีมากครับ ในด้านความคิด(ไม่ใช่fact) เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ ผมเองได้แสดงความเห็นเว็บ แล้วเค้า(คุณเจริญชัยและคุณสุรศักดิ์)ก็ออกมาตอบในประเด็นต่างๆ ในรายการตอนล่าสุดด้วย

ไม่เบื่อการเมือง

ปีสองปีมานี้ผมมีความสนใจความเป็นไปทางการเมืองและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าก่อนมาก  สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ผมไม่แน่ใจว่าเริ่มสนใจตั้งแต่เมื่อไหร่ คิดว่าคงเพราะอ่านอะไรๆ ของพี่ก้อง ทรงกลด  แต่ถ้าเป็นด้านการเมืองนี่ชัดเจนครับ คนจุดประกายให้ผมคือ คุณทักษิณ ชินวัตร

การปฏิวัติน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กหลาย ๆ คนมองเห็นการเมืองว่า มีตัวตนในโลกประจำวัน  แต่สิ่งที่ตรึงสายตาของผมไว้คือคำถามว่า “การปฏิวัติที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นสิ่งสมควรไหม”  ช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น รับรัฐธรรมนูญดีไหม ?  เลือกตั้งใครดี ?  พันธมิตรกำลังทำสิ่งที่น่าสนับสนุนหรือเปล่า ?  ระหว่างการรวบรวม วิเคราะห์ และแสดง ความคิดเห็นเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ ผมได้เห็นการปะทะกันของความคิดเห็น 

เวลาได้อ่านการใช้เหตุผลที่เนียน ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่เป็นจริงและแสดงถึงการรวบรวมข้อมูล  ผมรู้สึกว่ามันเท่จริงๆ หว่ะครับ  …ก็คงเพราะความประทับใจตรงนี้ พอบวกกับความอยากเป็นพลเมืองคุณภาพ ก็เลยเริ่มสนุกที่จะติดตามประเด็นปัญหาบ้านเมือง

แล้วบางครั้ง ก็จะมีการโต้กลับมาของความเห็น อย่างมีเหตุผลเหมือนกัน แล้วยิ่งพอมีสมมติฐานที่สอดคล้องความเป็นจริงกว่า ก็เลยเจ๋งขึ้นไปอีก

นี้คือสิ่งสำคัญมาก เวลาเราคิดหาทางออกของปัญหาอะไรก็ตาม  ถ้าจะแก้ปัญหาอะไร เราต้องหาทางออกจากบริบทของปัญหานั้น  ยิ่งรวบรวมข้อมูลมาดีเท่าไหร่ ก็แก้ได้ตรงจุดมากขึ้น หรือถ้าเราจะเอาวิธีการแก้ปัญหาจากบริบทอื่นๆ มาใช้แก้ปัญหาอะไร มันก็ต้องเป็นบริบทที่ใกล้เคียงกันครับ

เช่น เราจะเอาวิธีการแก้ปัญหาการเลือกผู้นำในบริษัทมายัดใส่การเลือกผู้นำประเทศ หรือ วิธีการแก้ปัญหาชองชมรมนึงจะเอามาแก้กับอีกชมรมนึง โดยไม่ดูว่าวัฒนธรรมมันต่างกันยังไง  ก็จะทำเสียเรื่องเปล่าๆ

นิตยสาร way, TV บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา,  แล้วก็คอลัมน์ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์เขียนในมติชนรายสัปดาห์ เป็นสื่อทางการเมืองที่ผมชอบเพราะอ่านง่าย วิเคราะห์อะไรๆ คมดีครับ ไม่เอียงทักษิณหรือพันธมิตร ไม่เป็นข่าวชาวบ้านๆ หรือเอาเรื่องของตัวคนมาด่าให้มันน่าเบื่อ  ที่จริงแล้วผมว่าบทความในประชาไทดีๆ มีเยอะแยะ แต่อ่านไม่ไหวครับ มันวิชาการการไป ก็เลยมาแนะนำ 3 อย่างนี้หล่ะครับ สำหรับคนอยากเริ่มสนใจการเมือง

ตอนนี้ บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา กำลังพูดถึงประเด็นเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญอีกรอบเป็นเรื่องสมควรไหมซึ่งก็เชื่อมไปถึงเรื่องการยุบพรรค
มีประโยคหนึ่งของสัปดาห์นี้จาก อาจารย์ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ที่ผมชอบมาก

“ปัญหาบ้านเมืองมันขมวดอยู่แค่ เอาทักษิณไม่เอาทักษิณ  ตั้งแต่เมื่อไหร่”
มันไม่ได้ขมวดแค่นั้นยังไง ก็ลองรับชมรับฟังกันดูนะครับ