การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กับการเมืองที่ “ไม่การเมือง”

บทความเรื่อง การเมืองที่”ไม่การเมือง” โดยอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ สะท้อนมุมมองความคิดเห็นของฝ่ายขวา กลุ่มพันธมิตรและชนชั้นกลางจำนวนมากที่ว่า การเมืองที่ “ไม่การเมือง” นั้นคือทางออกที่จะนำไปสู่ความสงบเรียบร้อยของสังคม

อ่านแล้วได้ความว่า การ “ไม่การเมือง” นั้นยังไงก็เป็นการเมืองอยู่ดี  แต่เป็นการเมืองที่พยายามจำกัดขอบเขตการตัดสินใจให้อยู่แค่คนจำนวนน้อย (ซึ่งอาจถูกคัดสรรมาแล้ว)

ผมรู้สึกสนใจว่าอะไรที่ปลูกฝังให้เราคิดว่าการ “ไม่การเมือง” น่าจะเป็นทางออก

อาจเพราะเราถูกเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจากระบอบกษัตริย์เป็นประชาธิปไตย ซึ่งด้วยปัจจัยต่างๆ ก็ทำให้การบริหารไม่ดี ก็เลยอยากหาทางออกอะไรซักอย่าง

แต่ทำไมเราจึงอยากหนีไปในทางที่จำกัดขอบเขตการตัดสินใจอยู่กับคนไม่กี่คน

ถ้าถามว่า ทำไมคนชั้นกลางจำนวนมากขนาดนี้ในปัจจุบันจึงคิดเช่นนี้ ผมก็คิดว่าเป็นเพราะวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของเรานั้นเอง

วิธีการศึกษาที่ เน้นกล่าวถึงความสุดยอดของมหากษัตริย์แต่ละพระองค์และส่งเสริมความรักชาติรักแผ่นดิน  แต่ดูจะไม่วิพากษ์วิจารณ์ความสำเร็จในระบบแบบกษัตริย์

…แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์มากมาย ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เองก็รู้ดี ว่ามีการแย่งชิงสถานะแห่งอำนาจในการกำหนดการใช้ทรัพยากรกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในหมู่พวกเจ้านายด้วยกันเอง เจ้านายกับขุนนาง รวมทั้งในหมู่สามัญชนอื่นๆ ด้วย มีทั้งการประจบ, ใส่ไคล้, ยุ่งเกี่ยวไปถึงฝ่ายในของราชสำนัก, จนถึงการลอบสังหาร, ใบปลิว, หรือแม้การจับอาวุธขึ้นก่อการกบฏ แม้แต่การที่ ร.5 ทรงใช้พระปรีชาสามารถในการแย่งพระราชอำนาจที่สูญเสียไปแก่ตระกูลขุนนางบาง ตระกูลในรัชกาลก่อนๆ ก็เป็นที่รู้กันดี

เพราะ “การเมือง” ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากการแสวงหาอำนาจเพื่อกำหนดการใช้ทรัพยากรนั่นเอง จะใช้อย่างไร จะให้ใครใช้ จะใช้เมื่อไร ฯลฯ จึงไม่มีสังคมอะไรในโลกนี้ที่ปราศจาก “การเมือง” อันเป็นเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งและต่อสู้กัน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น ผ่านการสร้างวัฒนธรรมขึ้นครอบงำ เป็นต้น

แม้กระนั้นความคิดว่า มีสังคมที่ขจัดการเมืองออกไปได้ก็ตาม การเมืองคือปัจจัยขัดขวางการบริหารที่ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพก็ตาม ยังเป็นความคิดกระแสหลักของฝ่ายขวาในเมืองไทยสืบมา ใช่แต่เท่านั้น ยังรวมไปถึงคนที่ไม่อาจจัดอยู่ในฝ่ายขวาได้ ก็เชื่อทำนองเดียวกัน…

ผมคิดว่าถ้าเราคนไทยได้ทราบข้อมูลดังที่อาจารย์นิธิได้เขียนไว้ในบทความข้างต้น เราหลายๆ คนจะมีมุมมองทางด้านการเมืองที่ต่างไปจากปัจจุบัน

ผมไม่มีคำตอบที่ชัดเจน(*)ว่า วิธีการคัดเลือกคนเข้ามาเป็นตัวแทนในกรรมการหรือสภาต่างๆ ของประเทศ  บริบทไหนที่ควรจะการเมืองหรือไม่การเมืองไหน — ขอบเขตการตัดสินใจควรกว้างจะแค่ไหน

แต่ผมเชื่อว่า เราทุกคนจะมีคำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นได้ ถ้าเราเรียนรู้อดีต

ปล. ที่จริง, เกี่ยวกับประเด็น 70-30 ของพันธมิตร, ในรายการชูพิชญ์ตอนล่าสุดก็พูดไว้ได้สนใจมากๆ ครับ

(*) ผมไม่แน่ใจจริงๆ ว่าเรื่องการเมืองการปกครองระดับรัฐนั้นควรแค่ไหนที่ การตัดสินใจควรขึ้นกับทุกคน หลังจากได้ทราบข่าวเกี่ยวกับ ยีนการเมืองที่ว่ามียีนบางตัวที่กำหนดความสนใจทางการเมืองของคนๆ นั้นอยู่

มันทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า ถ้าเราให้เฉพาะคนที่มีความสนใจเรื่องการเมืองเป็นผู้ตัดสินใจก็อาจจะดี  คนที่ไม่สนใจเวลาติดสินใจก็คงได้คำตอบสั่วๆ มา ซึ่งกลับจะทำให้ข้อสรุปของส่วนรวมต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่เชื่อมั่นว่าทุกคนเท่ากันกลับออกมาทำให้สาธารณะประโยชน์ต่ำลง

ถ้าปล่อยให้คนที่เค้าสนใจมาตัดสินใจ คนที่ไม่สนใจอาจจะสบายใจมากขึ้นด้วย?

ฉะนั้นนี่เป็นคำถามของผมอีกข้อหนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยบนเงื่อนไขที่มีทุกคนถูกกำหนดมาว่าสนใจการเมืองไม่เท่ากันอยู่แล้ว นั้นมีประสิทธิภาพดีแค่ไหน

ระบบการศึกษาและการเรียนพิเศษ

CHAYANIN : พี่อิ๊กครับ การเรียน-สอนพิเศษอย่างบ้าคลั่ง เป็นปัจจัยหรือเป็นผล กับความล้มเหลวของระบบการศึกษาครับ

อิ๊ก : เป็นปัจจัยกับเป็นผลต่างกันยังไงหรอ

CHAYANIN : หมายถึงว่า การที่มีการเรียนพิเศษอย่างบ้าคลั่งขนาดนี้ มีส่วนทำให้ระบบการศึกษาล้มเหลว หรือจริงๆ แล้ว เพราะระบบการศึกษาล้มเหลว มันเลยเกิดขึ้นครับ

อิ๊ก : ที่จริง พี่ว่ามันส่งผลทั้ง 2 ทาง แต่ว่าพี่ว่ามันเกิดจากโครงการของระบบก่อนแล้วทำให้เกิดขึ้น

CHAYANIN : คือคิดว่ามันน่าจะเป็น cycle?

อิ๊ก : จะลองอธิบายความคิดดูนะ

  1. หลักสูตร ไม่สามารถ ทำให้เด็กหาความรู้ได้เองนอกห้องเรียนได้  ในขณะที่ความรู้พื้นฐานสำหรับการเอนทรานซ์นั้นเยอะมาก
  2. ธุรกิจกวดวิชา(ซึ่งเป็นรูปแบบที่เรียนในห้อง) จึงตอบโจทย์ของตลาด
  3. เด็กที่ศรัทธาต่อระบบการเรียนแบบนี้ ก็จะ
    * คิดว่าการเรียนในห้องวิธีการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด (ซึ่งก็จริงในแง่ที่ว่าเพื่อสอบ)  แต่พี่ว่า มันยังมีองค์ความรู้แบบอื่นๆ อีกมากที่ จะได้มาจากการลงมือทำจริงๆ การสั่งสมบางอย่าง
    * ทักษะการหาความรู้ด้วยตัวเองค่อนข้างแคบ และคิดว่าความรู้มีอยู่ในส่วนแคบๆ ไม่ใช่รอบตัว
  4. มันจะมีผลเป็น cycle ก็ต่อเมื่อ คนที่มีกระบวนทัศน์แบบนี้มาเป็นผู้ออกแบบหลักสูตร

อิ๊ก : อย่างวิธีการสร้างความรู้จากการอภิปรายหาหนทางการแก้ปัญหาเนี่ย พี่ว่ามันเรื่องที่น่าปลูกฝังมากๆ เพราะน่าจะใช้ในชีวิตจริง และยังช่วยเรื่องการรับฟังความเห็นคนอื่น
อิ๊ก :
อารมณ์แบบมีคนเสนอ thesis การแก้ปัญหา แต่มีคนไม่เห็นด้วย antithesis คุยอภิปรายไปมาได้ข้อดีมารวมกันเป็น synthesis อะ
อิ๊ก :
รู้สึกว่าอะไรแบบนี้จะมีสอนแค่ในมหาลัยบางคณะ ที่พี่รู้สึกว่าได้มาก็จากการประชุมในงานกิจกรรมต่างๆ ไม่มีในหลักสูตร
อิ๊ก :
สรุปก็คือว่า ถ้าหลักสูตรเสนอวิธีการหาความรู้ให้เด็ก ได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพ พอที่เด็กจะหาความรู้ได้เองจนเพียงพอต่อการเอนท์  น่าจะแก้ปัญหาได้

CHAYANIN : โอ้ ขยันมากครับ

อิ๊ก : – –
อิ๊ก : คิดว่าไงอะ

CHAYANIN : คือผมคิดว่า ทรัพยากรทางการศึกษาในระบบไม่เพียงพอ บวกกับระบบหลักสูตรที่ไม่เอื้ออำนวยกับการเรียนรู้ จึงเกิดระบบการเรียนพิเศษขึ้นมา แต่เมื่อมันเกิดและกลายเป็นกระแสอย่างบ้าคลั่งแบบตอนนี้แล้ว มันก็ย้อนกลับไปทำร้ายตัวระบบด้วย
CHAYANIN : ยิ่งมีคนเรียนพิเศษมาก ก็ยิ่งดึงดูดคนมากขึ้นไปอีกให้มาเรียนพิเศษ

อิ๊ก : อืมเห็นด้วย

CHAYANIN : ระบบปัจจุบัน ก็เลยมีอคติให้กับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีทรัพยากรที่จะนำมาใช้ตรงนี้ได้มากกว่า ทำให้สุดท้ายแล้ว แนวโน้มของคนที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ ก็จะเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่า ในขณะที่กลุ่มคนชั้นล่างก็ไม่สามารถ afford การเรียนในมหาวิทยาลัยได้ ก็จะยิ่งเพิ่ง gap ทางสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างปัญหาให้กับระบบการศึกษาเองด้วย

อิ๊ก : มันจะมีวิธีการอะไรอีกหรือเปล่า ที่serveคนชั้นล่าง  นอกจากการปรับหลักสูตรมตราฐานในโรงเรียน ให้เรียนเองได้(อย่างที่พี่บอกไป)
อิ๊ก :
ที่บอกว่าการที่คนชั้นล่างไม่ afford  มันสร้างปัญหากับระบบการศึกษาอะไรบ้างหรอ นอกจากเพิ่ม gap ในสังคม

CHAYANIN : ผมว่ามันทำให้ academic community มีแนวโน้มเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจสูง การเรียนรู้จากทั้งในหลักสูตรและในชุมชนก็จะไปในแนวทางนั้น และยิ่งมีความรู้ความเข้าใจที่ออกห่างจากสภาพความเป็นจริงมากขึ้นไปอีก

อิ๊ก : อื้อ….  จริงมากๆ

CHAYANIN : คือ ตอนนี้กำลังคิดอยู่ เพราะกำลังพิจารณาเรื่องการสอนพิเศษ
CHAYANIN : ก็เลยแบบ รู้สึกว่าตัวเองเคยต่อต้านระบบการเรียนพิเศษ

อิ๊ก : แอบคิดว่าเราใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ในชุมชนการศึกษา น้อยมากๆ เลย  (โดยเฉพาะวิศวะ  — หรือมันไม่มีทางกันนะ)
อิ๊ก : ถ้ามองเชิงปัจเจก พี่ว่าการสอนพิเศษเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การสร้างคนฉลาด 1 คนในคนโง่ 10 คน น่าจะดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ หว่ะ

CHAYANIN : คือ ก็มองในมุมนั้นเหมือนกัน
CHAYANIN : แต่แบบ ได้คุยกับรุ่นพี่คนนึง เค้าบอกว่า เค้าไม่สอนพิเศษ เพราะเค้ามองว่ามันทำให้ระบบการศึกษามันยิ่งล้มเหลว

อิ๊ก : ยังไงก็ตาม สิ่งที่ควรทำสุด คือ หาทางเปลี่ยนแปลงแก่น ของหลักสูตร // อืม…

CHAYANIN : อื
CHAYANIN : คือ ลองมองๆ ไว้อยู่ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจจะลองสอนพิเศษดู

อิ๊ก : ถ้าประเทศไทยไม่มีกวดวิชาเลยก็คงจะแย่กว่านี้อีก มหาลัยจะต้องปรับหลักสูตรให้อ่อนลงอีก การมีกวดวิชาแบบนี้กลับเป็นการกระตุ้นให้คนเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับหลักสูตรให้เด็กเรียนรู้เองได้บ้าง

CHAYANIN : อืม ครับ

อิ๊ก : ว่าแต่ “มันจะมีวิธีการอะไรอีกหรือเปล่า ที่serveคนชั้นล่าง  นอกจากการปรับหลักสูตรมตราฐานในโรงเรียน ให้เรียนเองได้(อย่างที่พี่บอกไป)”
อิ๊ก : (พี่ก็กำลังหาที่เรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษ ฮาๆ   เพราะขี้เกียจศึกษาเองหว่ะ)

CHAYANIN : คือยังนึก solution ไม่ออก รู้แต่ว่าต้นทุนมันสูงกว่ามากอ่ะครับ

อิ๊ก : ชอบ dialogue ประเทืองปัญหาแบบนี้จัง

CHAYANIN : แบบไหนครับ

อิ๊ก : แบบที่ได้ เรียบเรียงความคิดตัวเองกับได้มุมมองที่ลืมมองไป

CHAYANIN : จริงครับ